วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

นวัตกรรมการศึกษา


นวัตกรรมการศึกษาวันนี้ ขอเสนอ.....

"โซเชียล เน็ตเวิร์ก" 
====================
      ทุกวันนี้คำว่า "เว็บไซต์ โซเชียล เน็ตเวิร์ก" หรือ "เครือข่ายสังคมออนไลน์" ไม่ใช่คำใหม่ในสังคมอีกแล้ว โดยเฉพาะในยุคที่เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน ทำให้โลกปัจจุบันกลายเป็นโลกที่ไร้พรมแดนไปแล้ว
     ทว่า การเข้ามาของเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ก็เป็นเสมือน "ดาบสองคม" ที่มีทั้งด้านดี และด้านเสีย ขึ้นอยู่กับว่า ผู้ใช้จะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือเกิดโทษแก่ตัวเอง
     ในด้านการพัฒนาการศึกษาโดยอาศัยประโยชน์จากเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นทุกวัน "โซเชียล เน็ตเวิร์ก" ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะทำให้ครูผู้สอน และนักเรียนใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น นอกเหนือจากเวลาที่อยู่ในห้องเรียน
   
     ดังเช่นที่ "คณะกรรมการด้านการศึกษา" ของรัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐฯ เพิ่งจะมีมติไปเมื่อสัปดาห์ก่อน ในการเห็นชอบที่จะกำหนดนโยบายอย่างเป็นรูปธรรม เกี่ยวกับการนำเอา "โชเชียล เน็ตเวิร์ก" มาใช้ในฐานะเครื่องมือการเรียนการสอน
     ยกตัวอย่างในกรณีของ "เฟชบุ๊ก" หรือ "มาย สเปช" เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ยอดนิยม ซึ่งทางคณะกรรมการฯ เล็งเห็นว่า แทนที่บรรดาเด็กนักเรียนจะอาศัยเว็บไซต์เครือข่ายฯ เหล่านี้ ในการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือใช้เป็นพื้นที่ในการบอกกล่าวความรู้สึกของตนต่อคนรอบข้างเพียงอย่างเดียว แต่แอพลิเคชั่น หรือฟังก์ชั่นต่างๆ ของเว็บไซต์เหล่านี้ ยังสามารถเชื่อมโยงพวกเขากับสถาบันการศึกษา หรืออาจารย์ผู้สอนได้ด้วย เช่น การสั่งรายงาน ส่งการบ้าน หรือแม้กระทั่งแจ้งเตือนเกี่ยวกับวันเวลาสอบ เป็นต้น
     ...ขณะเดียวกัน การที่ครูเข้ามาอยู่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ยังสามารถเปิดโอกาสให้ผู้ใหญ่ได้เป็นหูเป็นตา ในการสอดส่องดูแลผู้ไม่ประสงค์ดีที่อาศัยช่องทางการติดต่อสื่อสารไร้พรมแดนนี้ เข้ามาสร้างความเสียหาย หรือก่อภัยคุกคาม โดยเฉพาะอาชญากรรมเกี่ยวกับเรื่องเพศแก่พวกเด็กๆ ได้ ดังที่มีข่าวครึกดครมอยู่บ่อยๆ กรณีของ "คิมิยะ ฮากิกิ" นักเรียนสาววัย 17 ปี ที่กำลังศึกษาในระดับเกรด 11 ของโรงเรียนแลงเลย์ ไฮสคูล ก็อีกตัวอย่างหนึ่งของการใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้
     โดยก่อนหน้านี้เธอมีปัญหาเกี่ยวกับการเขียนเช่นเดียวกับนักเรียนส่วนใหญ่ในชั้นเรียนวิชาภาษาอังกฤษของ "อ.อูเบรย์ ลุดวิก" ทว่าครูผู้สอนของเธอได้แนะนำให้เธอ และเพื่อนในชั้นเรียนใช้ "ทวิตเตอร์" ส่งข้อความหากัน แล้วผลที่ออกมาก็เป็นที่น่าพอใจ เมื่อปัญหาการเขียนที่เคยเยิ่นเย้อ และประณีตเกินไปก่อนหน้าได้รับการแก้ไข อันเป็นผลจากการ "ทวิต" ข้อความซึ่งมีการจำกัดอักขระอยู่ที่ไม่เกิน 140 ตัวอักษรต่อครั้งเท่านั้นนั่นเอง
==================


ที่มา


วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ศึกษาสื่อการสอน Live in Patumkongka School

 เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ผมและเพื่อนๆ ไ้ด้เข้าไปศึกษาสื่อการสอนวิชาศิลปะใน โรงเรียนปทุมคงคา
เพื่อนๆ อาจจะเป็นการเข้าไปทำงาน สำหรับผม มันคือการกลับบ้าน...
ผมจบปทุมคงคามาเมื่อปี 2552 ด้วยเกรดเฉลี่ยที่พอจะถูไถไปได้ จากสาย ศิลป์-คำนวน
ซึ่ง สายศิลปะ ที่ผมเจอมานั้นเป็นอย่างไร จะถูกเปิดเผยในentry นี้นั่นเอง


                  ตึกเรียนศิลปะคือ ตึก 7 ซึ่งหมวดศิลปะจะอยู่ชั้นที่ 2 สภาพห้องเรียนเป็นโต๊ะญี่ปุ่น นั่งพื้น สำหรับคาบที่พวกผม ได้มาติดต่อขอดูการสอน และ สื่อการสอน เป็นช่วงคาบ 4 - 5 ในช่วงบ่าย เริ่ม เวลา 12.50 น.  ครูผู้สอนคือ คุณครูพรพรรณ ประทุมชัย กับนักเรียนชั้น ม.4/7

                      ขอกล่าวถึงครูพรพรรณ ซักนิดหนึ่ง ครูพรพรรณ ขออนุญาติเรียก พี่ตังเม เป็นรุ่นพี่จากศิลปกรรมศาสตร์ศึกษา ซึ่งจบจาก มศว หลายปีแล้ว 
เริ่มต้นคาบเด็กๆ ก็ทยอยกันเข้ามาอย่างวุ่นวาย ทำเอาผมนึกถึงคืนวานอันหวานหอม
                สื่อการสอนในวันนี้ ไม่มีอะไรมากนอกจากหนังสือหนึ่งเล่ม ด้วยแผนการเรียนที่ว่าด้วยทฤษฎีศิลปะล้วนๆ  บวกกับความขาดแคลนทางทุนทรัพย์ของเรียนเรียน ไม่สามารถหาเครื่องฉายสไลด์ หรือคอมพิวเตอร์มาให้ บาปจึงตกอยู่ที่ครูผู้สอนต้องใฝ่หาสุดแล้วแต่จะพอมีกำลังหาได้ 
หนังสือที่ว่าคือ หนังสือ ทัศนศิลป์ ม.๔
แต่งโดย สุชาติ และ คณะ
                       
เนื้อหาภายในหนังสือก็จะประกอบไปด้วย ประวัติศาสตร์ศิลปะและศิลปะ แขนงต่างๆ ตามหลักสูตรเป๊ะๆ
ครูตังเมของเราก็ทำการสอนโดยอ้างอิงจากหนังสือ เปิดหนังสือสอนเลยก็ว่าได้ แต่ความสนุกและน่าสนใจ เกิดจากกิจกรรมในห้องเรียน

และเมื่อสื่อไม่อำนวยความสะดวก ผู้สอนก็พลิกแพลง โดยใช้กิจกรรมและ ใ้ช้นักเรียนเป็นผู้ช่วยสอน และเป็นสื่อไปในตัว 

                                        น้องตั้ม ผู้กล้าแสดงออกของเราออกมาทำท่ารูปปั้น ที่  Michael angel  ปั้น 
                                           ทำเอาเพื่อนในห้องลืมภาพประกอบในหนังสือไปซะสนิทใจเลยทีเดียว 



ระหว่างนั้น เราก็แว้บไปดูห้องข้างๆ ที่กำลังทำการสอน นักเรียนชั้น ม.ต้นกันอยู่ 
โดยมี ท่านอาจารย์ วราภรณ์ คงคาเพ็ชร เป็นผู้สอน


บรรยากาศภายในห้อง ดูเรียบร้อยดีๆ น้องกำลังทำงานกันอย่างสนุกสนาน จนผมอยากจะลงไปทำด้วยเสียนี่ หัวข้อในวันนี้ที่ครูวราภรณ์สอน คือ การทำสื่อผสม จากวัสดุเหลือใช้ ( น่าสนุกมาก )



สำหรับสื่อที่ใช้สอน เช่นเดียวกันกับของห้องที่แล้ว หนังสือ ทัศนศิลป์ แต่เล่มนี้เป็นระดับชั้น ม.๑



หลังจากสังเกตการสักพัก พวกเราก็เดินสำรวจ สื่อความรู้อื่นๆ ที่ครูใช้สอน หรือ สื่อที่ให้ความรู้ต่างๆ บริเวณหมวดศิลปะ
                









และอีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจ คือ ผลงานของนักเรียน และบอร์ดความรู้





อีกมุมหนึ่งของห้อง ผมสังเกตเห็น บอร์ดที่ดูแปลกตา !!


ครูตังเมได้อธิบายว่า การสร้างลวดลายบนกำแพง หรือ การฟฟิตี้ก็เป็นศิลปะแขนงหนึ่ง หากเด็กสนใจเราก็ควรสนับสนุน อย่างถูกวิธี มีที่ทางให้เค้าแสดงออกอย่างถูกต้อง ดีกว่าไปพ่นตามสถานที่สาธารณะ
( ซึ่งในส่วนนี้ผมเห็นด้วยอย่างมาก ! )



สรุปจากการสำรวจสื่อในครั้งนี้
ผมข้อแยกเป็น 3 ประเภทได้แก่

1. หนังสือเรียน 

ซึ่งเป็นไปตามหลักสูตร ของกระทรวงศึกษาเป๊ะๆ หน้าตาดาษดื่น เด็กมักไม่ค่อยขยันจะพกมาเท่าไหร่
ปัญหาที่ตามมาคือ เมื่อเด็กไม่มีหนังสือ ก็ต้องยืมเพื่อน หรือคาบนั้นอาจจะไม่ได้อะไรจากการเรียนเลยด้วยซ้ำ ครูจึงแก้ปัญหาด้วยวิธีการลงโทษต่างๆ ซึ่ง ได้ผลตามสมควร

2. บอร์ด ความรู้บนฝาหนัง

ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับศิลปะ ไม่มากก็น้อย บางอันนั้นเรียกได้ว่าผมเห็นมาตั้งแต่ ม.1 ยัน ปีสาม ไม่มีการเปลี่ยนแปลง หรืออาจจะแค่ย้ายที่ ? ย้ายทาง ? นอกจากความรู้เกี่ยวกับศิลปะแล้ว ยังมีส่วนของผลงานนักเรียน ซึ่งสามารถดูเป็นแรงบันดาลใจได้อย่างดี อีกทั้งยังมีบอร์ดข่าวสาร ซึ่งช่วงนี้อาจจะโล่งๆเสียหน่อย แต่ก็จัดได้ว่ามี ที่เห็นจะแน่นคงเป็นบริเวณที่ให้ นร. ได้วาดลวดลายสีสเปรย์ แหม...ฟอนท์ ชื่อโรงเรียนและรูปดอกบัว เหมือนกันไปหมดราวกับถ่ายเอกสาร

3. หุ่น และ เครื่องปั้นดินเผา

พวกนี้จะสถิตอยู่ตามมุมห้อง มุมตึก ในตู้ ซึ่งไม่ได้ถูกนำออกมาปัดกวาดเช็ดถูเสียนานแล้ว ตั้งโชว์ไว้ บางครั้ง ก็ถูกพาดพึงถึงบ้างในการสอน ( แต่สมัยผมเรียน หุ่นพวกนี้ คือสื่อในการสอน Still life drawing )


          สรุปปิดท้ายอีกนิดหนึ่งในฐานะศิษย์เก่า ผมขอบอกว่า ผมภูมิใจที่จบจากโรงเรียนนี้ จากสายศิลปะ และได้มาเรียนต่อ ศิลปะ ที่ มศว อย่างที่เห็นๆ กันว่าความพร้อมทางด้านศิลปะ ในโรงเรียนของผม ยังด้อยและอาจจะไม่สู้กับโรงเรียนอื่นๆ ในเมืองหลวง แต่ผมเชื่อว่า เด็กปทุมคงคาก็มีความสามารถด้านนี้ไม่น้อยทีเดียว เพียงแต่ผู้ใหญ่อาจจะไม่เล็งเห็นตรงจุดนี้ ซึ่งศิลปะในความหมายของพวกเขา อาจจะหมายถึง ตัวหนังสือบนกระดาษ ที่ให้นักเรียน เรียน อ่าน และ จำ ไปสอบ วัดผลอะไรก็ตามที่พวกเค้าใช้วัดคุณภาพคน ผมเชื่อว่าศิลปะ นอกจากจะรู้ทฤษฎีแล้ว ยังควรได้เรียนปฏิบัติด้วย ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการเรียนศิลปะ อย่างการสอบตรง เข้าระดับมหาวิทยาลัย การคัดเลือกจากการสอบทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติ  ไม่ต้องยกตัวอย่างไกล มศว ที่ผมเรียนก็วัดผลจากส่วนนี้ในการคัดผู้เรียนเช่นกัน

           ในความเห็นของผมโรงเรียนปทุมคงคานั้น การเรียนในทางปฏิบัติยังไม่สามารถทำได้เต็มที่ เนื่องด้วยเหตุผล เช่นความพร้อมทางทุนทรัพย์ ความพร้อมทางด้านสื่อ และบุคคลากรทางหมวดศิลปะนี้ยังขาดอยู่ ทำให้ครูรับภาระหนัก หรือด้วยเหตุผลอันใดก็ตาม ในอนาคตข้างหน้า ถ้าผมมีโอกาสได้กลับมาสอนที่ บ้านหลังที่สอง ของผม ผมหวังว่าผมจะสามารถ สอนศิลปะ ที่มากกว่าใช้ไปสอบเอาคะแนน แต่สามารถสร้างให้เด็กรักศิลปะ และมีความสวยงามในการใช้ชีวิต




ควรมิควรแล้วแต่พิจารณา 


=============================================

ขอขอบคุณ โรงเรียนปทุมคงคา
อาจารย์ วราภรณ์ คงคาเพ็ชร
อาจารย์ พรพรรณ ประทุมชัย

และภาพบางส่วนจาก ไอ้เกม