พิพิธภัณฑ์
ศิลปะไทยร่วมสมัย
สถานที่ตั้ง
499/50
ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
อยู่ริมถนนLocal Road ลอดสะพานข้ามแยกเกษตร-วิภาวดี มาใกล้ๆกับตึกเบญจจินดา
ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์
โดยย่อ
ณ
พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย ที่ซึ่งเกิดจาก “ความหลงใหลในงานศิลปะ” ของคุณบุญชัย เบญจรงคกุล แต่เหตุผลหลักที่ทำให้คุณบุญชัยเปิดพิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัยอย่างเป็นทางการ
คือ
เพื่อเฉลิมพระเกียรติและแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเพื่อเชิดชูเกียรติของ
“บิดาแห่งศิลปะไทยร่วมสมัย” หรือ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี
ภายในพิพิธภัณฑ์นี้
ประกอบด้วย นิทรรศการแบบ ถาวร และ นิทรรศการ หมุนเวียน แบ่งเป็นชั้นต่างๆ ดังนี้
ชั้นแรก แบ่งเป็นห้องจัดแสดงนิทรรศการเชิดชูเกียรติศาสตราจารย์ศิลป์
พีระศรี ด้วยความกรุณาของกรมศิลปากร ที่ให้ยืมผลงานของท่านศาสตราจารย์ศิลป์
พีระศรีมาจัดแสดงเป็นเวลาหกเดือน
และยังมีห้องนิทรรศการถาวรของศิลปินแห่งชาติสองท่าน คือ ห้องนิทรรศการถาวรงานประติมากรรมของศิลปินแห่งชาติ
อาจารย์ไพฑรูย์ เมืองสมบรูณ์
และห้องนิทรรศการถาวรแสดงงานจิตรกรรมของศิลปินแห่งชาติ ศาสตราจารย์ชลูด นิ่มเสมอ
ชั้นที่สอง
พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัยได้นำผลงานร่วมสมัยในทศวรรษนี้ของศิลปินหลากรุ่น
หลายวัยมาจัดแสดง งานจิตรกรรมที่นำเสนอในชั้นนี้เป็นผลงานที่ศิลปินได้คลี่คลายถ่ายทอดออกมา
ล่าสุดหลังจากทดลองค้นคว้าทำงานศิลปะอย่างต่อเนื่องมากว่าสองทศวรรษ
นับเป็นความพร้อมใจของศิลปินทั้งหลายที่จะมาเปิดโลกแห่งศิลปะไทยเพื่อต้อนรับชาวโลกร่วมกันและเพื่อจะได้เป็นส่วนหนึ่งของชาวไทยที่มาร่วมเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ 84พรรษา
ชั้นสาม พิพิธภัณฑ์จะเป็นที่ชุมนุมของศิลปะเชิงความคิดเห็นและจินตนาการทั้งแบบไทยและสากลร่วมสมัย ศิลปินไทยน่าจะเป็นผู้ที่สามารถสร้างสรรค์ศิลปะในแนวนี้ได้ดีที่สุดในภูมิภาคเอเชีย เพราะความเป็นไทยซึ่งมีพระพุทธศาสนาคอยบ่มเพาะให้เรามีความเชื่อเรื่องโลกนี้ โลกหน้า การเวียนว่ายตายเกิดและกฏแห่งกรรม อันสืบเนื่องมาจากการทำกรรมดีกรรมชั่ว
ชั้น 5 เราก็จะมาถึงชั้นของศิลปินแห่งชาติอีกท่านหนึ่ง คือ “อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี " ซึ่งมีห้องจัดแสดงผลงานถึงสี่ห้องใหญ่ ที่จะทำให้ผู้ชมเพลิดเพลินไปกับงานศิลปะแบบเชิงความคิดและจินตนาการแบบตะวันออกผสมผสานกับวิถีความเชื่อแบบไทยที่รวมความเป็นพุทธและพราหมณ์อยู่ในชีวิตประจำวันจนแยกไม่ออก ห้องที่ห้าของชั้นนี้จะเป็นห้องที่รวบรวมงานของศิลปินแห่งชาติอีกหลายท่าน ร่วมกับศิลปินชั้นเยี่ยมระดับปรมาจารย์ของไทย
และจากห้องนี้ผู้ชมจะได้เดินทางข้ามจักรวาล โดยการเข้าในไข่ใบใหญ่
แล้วเดินข้ามสะพานแห่งจักรวาลไปยังไข่ใบที่สองเพื่อออกมาพบกับภาพไตรภูมิ ขนาดใหญ่สามภาพ เป็นการอุปมาอุปไมยว่า กายทิพย์ของเราได้มาลำดับและพิจารณาถึงชีวิตในวัฏสงสารที่เหล่าสรรพสิ่งต้อง วนเวียนอยู่ในภพทั้งสาม ความเชื่อนี้ในระดับหนึ่งก็คล้ายคลึงกันในทุกศาสนา
ชั้นสุดท้าย พิพิธภัณฑ์จัดแสดงงานศิลปะร่วมสมัย ระดับสากลจากทวีปต่างๆเช่น ยุโรป เอเชีย และอเมริกา ห้องกลางของชั้นจะจัดแสดงนิทรรศการภาพเขียนซึ่งเป็นที่ชื่มชมของชาวยุโรป เช่น ภาพจิตรกรรม ฝีมือศิลปินชาวฮอลแลนด์ที่มีอายุกว่าสองร้อยเจ็ดสิบปี และภาพแนวโรแมนติคในยุคสมัยพระนางเจ้าวิคตอเรีย ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวของชาวไทย เท่ากับว่าเราปิดท้ายนิทรรศการของพิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัยด้วยการ ย้อนเวลากลับไปกว่าหนึ่งร้อยปี
วันเปิดทำการ วันอังคาร – วันอาทิตย์ เวลา 10.00-18.00 น.(หยุดทำการวันจันทร์)
อัตราค่าเข้าชมพิพิธภัณฑ์
ผู้ใหญ่ 180
บาท
นักเรียน/นักศึกษา (โปรดแสดงบัตร) 80 บาท
เด็กที่อายุไม่เกิน 15 ปี (ต้องมากับผู้ปกครองเท่านั้น)
พระภิกษุ/ สามเณร/ ผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป (โปรดแสดงบัตร) ผู้พิการทุพพลภาพ ไม่เสียค่าเข้าชม
ความเห็นจากเจ้าของBlog
ผมคิดว่านิทรรศการนี้ ไม่จำเป็นว่าคุณต้องเรียนศิลปะ หรือ เป็นศิลปิน เท่านั้น จึงจะเข้ามาเยี่ยมชมได้ บุคคลทั่วไปก็สามารถดขเามาเยี่ยมชมได้เช่นกัน สำหรับ ค่าใช้จ่าย ค่าเข้าชม เพียงไม่กี่บาท กับการได้มาชมผลงานระดับศิลปินแห่งชาติ หรือผลงานของศิลปินต่างชาติ นับว่าคุ้มค่ามากทีเดียว และที่นี่ ยังมีการรองรับ การเยี่ยมชมแบบหมู่คณะ เหมาะสำหรับการพานักเรียน นิสิต นักศึกษามาเยี่ยมชม สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีทางด้านศิลปะ โดยใช้สื่อที่เป็นภาพวาดเหล่านี้ ประกอบการสอน ทั้งในเรื่อง เทคนิค ฝีมือ การวิจารณ์งานศิลปะ หรือแม้กระทั่ง นิทรรศการหมุนเวียน ซึ่งเปลี่ยนไปตามแต่พิพิธภัณฑ์ จึงถือได้ว่า เป็นอีกสถานที่หนึ่ง ที่มีคุณค่า ทั้งในด้านสังคม วัฒนธรรมและการศึกษา อย่างยิ่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น